วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กะสูบจุด

ชื่อไทย กะสูบจุด

ชื่อสามัญ EYE - SPOT BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala dispar

ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูลที่อุบลราชธานี หนองหานจังหวัดสกลนคร แม่น้ำศรีสงครามจังหวัดนครพนม และห้วยหลวงจังหวัดอุดรธานี

ลักษณะทั่วไป เป็นปลารวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลากะสูบขีด รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่ขนาดเล็กกว่า ลักษณะที่แตกต่างไปจากกะสูบขีด คือ ครีบหางเล็กและสั้น แฉกบนของครีบหางใหญ่กว่าแฉกล่าง หนวดที่ริมปากบนสั้นมาก ลักษณะที่เด่นอยู่ตรงที่มีจุดดำขนาดใหญ่อยู่กลางลำตัวข้างละจุด หางมีสีแดงเหมือนกะสูบขีด แต่ริมแฉกบนและล่างไม่มีแถบสีคล้ำ

อาหารธรรมชาติ กินลูกกุ้ง ลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นอาหารได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็นปลาร้า ปลาเจ่า

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

กะสูบขีด

ชื่อไทย กะสูบขีด

ชื่อสามัญ TRANSVERSE - BAR BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala macrolepidota

ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปีและในทะเลสาบสงขลา ภาคกลางพบที่แม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงบึงบอระเพ็ด แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ภาคเหนือพบที่แม่น้ำแม่ปิง แม่น้ำจีน และภาคอีสานพบที่แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำศรีสงคราม และในเขตจังหวัดชลบุรี จันทบุรี และตราด

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาตะเพียน ตัวค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวยาว ท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้างมากและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังค่อนข้างเล็ก อยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง เกล็ดใหญ่ ครีบหางเป็นแฉกลึก สีของปลาชนิดนี้เป็นที่สะดุดตาแตกต่างกับปลาชนิดอื่นอย่างเด่นชัด เมื่อเจริญวัยเต็มที่ลำตัวจะเป็นสีขาวเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง มีลายดำพาดขวางกลางตัว จากส่วนหน้าของครีบหลังไปยังฐานของครีบท้อง ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ครีบหางที่ริมแฉกบนและล่างของหางเป็นสีดำ

อาหารธรรมชาติ กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

กระมัง มัง วี เลียม เหลี่ยม แพะ สะกาง

ชื่อไทย กระมัง มัง วี เลียม เหลี่ยม แพะ สะกาง

ชื่อสามัญ SMITH'S BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntioplites proctozysron

ถิ่นอาศัย พบอาศัยในแม่น้ำและหนองบึงขนาดใหญ่ทุกภาคตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองจนถึงแม่น้ำโขง แต่ละภาคจะเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาท้องถิ่น ภาคกลางเรียกว่า ปลากะมัง ที่ปากน้ำโพมักเรียกปลาเลียม หรือปลาเหลี่ยม ที่หนองคายและนครพนม เรียก สะกาง ที่เชียงรายเรียก ปลาวี และภาคใต้ที่บ้านดอนเรียก ปลาแพะ

ลักษณะทั่วไป มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ด้านหลังยกสูง ส่วนหัวโต ลำตัวแบนข้าง ตาโตและอยู่ค่อนไปทางด้านบน ปากอยู่ค่อนไปด้านล่างของจะงอยปากซึ่งค่อนข้างทู่ ไม่มีหนวด ครีบหลังยกสูง ที่ก้านครีบอันแรกเป็นก้านครีบแข็งที่มีหยักที่ขอบ ครีบก้นค่อนข้างยาวที่ก้านครีบอันแรกมีหยักที่ขอบด้านท้ายเช่นกันกับของครีบหลัง ครีบหางเว้าแฉกลึก ตัวมีสีเงินวาว ครีบมีสีเหลืองอ่อนที่ขอบมีสีคล้ำ

อาหารธรรมชาติ กินพืชพรรณไม้น้ำ อินทรียสารที่เน่าเปื่อย

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

กะทุงเหว เข็มแม่น้ำ กะทุงเหวเมือง

ชื่อไทย กะทุงเหว เข็มแม่น้ำ กะทุงเหวเมือง

ชื่อสามัญ Round - tail garfish , Freshwater garfish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xenentodon cancila (Buchanan)

ลักษณะทั่วไป ปลากะทุงเหวเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก มีความยาวประมาณ 10 - 25 เซนติเมตร จากการรายงานของ Smith (1945) ขนาดใหญ่ที่สุดที่พบความยาว 32 เซนติเมตร รูปร่างยาวเรียวทรงกระบอก ลำตัวกลมรูปไข่ จะงอยปากยื่นยาว ปากบนและล่างมีฟันแหลมคมซี่เล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกันเกือบจะเป็นเส้นตรง มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ประมาณส่วนที่ 4 ของความยาวลำตัวจากส่วนหัวไปยังส่วนหาง ครีบหางตัดตรงเว้าเล็กน้อยและเห็นได้ชัดเนื่องจากมีลักษณะเป็นสันแข็ง ตรงส่วนท้ายมีเกล็ดแบบโค้งมนปลายแหลม (ctenoid) เรียงซ้อนทับกันเป็นระเบียบ คล้ายการปูกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ในตัวผู้มีส่วนหลังยกสูงที่บริเวณต่อจากท้ายทอยและเป็นสันมีสีแดง ตัวมีสีเหลืองอ่อนหรือขุ่น ด้านบนมีสีเขียวอ่อน ด้านข้างลำตัวมีสีเงินและมีแถบสีคล้ำพาดขวางตามแนวยาวถึงโคนหาง ครีบใส จะงอยปากตอนปลายมีสีแดงเป็นแต้ม ด้านท้องสีขาว

การสืบพันธุ์ โดยการนำแม่พันธุ์ปลากะทุงเหวมาปล่อยในบ่อซีเมนต์ ปล่อยให้ผสมพันธุ์ มีวัสดุวางไข่ลักษณะไข่จะเป็นไข่จม สีเหลืองเข้ม ที่ผิวเปลือกไข่มีเส้นใยเล็ก ๆ จำนวนมาก หรือผสมพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ (Controled natural method)

อาหารธรรมชาติ อาหารของปลากะทุงเหวในธรรมชาติ จะหากินด้วยการจับปลาขนาดเล็กหรือลูกปลาซึ่งมักจะว่ายเข้ามาเลี้ยงตัวในบริเวณใกล้ชายฝั่ง หรือที่มีน้ำค่อนข้างตื้น สำหรับในเขตน้ำจืดมักจะกินพวกลูกกุ้งหรือแมลงบางชนิด
การแพร่กระจาย เป็นปลาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนในเกือบทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลสม่ำเสมอ ในทวีปเอเชียพบในประเทศไทย อินเดีย พม่า กัมพูชา มาเลเซีย เกาะสุมาตรา บอร์เนียว และสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิอบอุ่นเกือบตลอดปีของประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับประเทศไทยจะพบได้ทั่ว ๆ ไปในแถบปากน้ำสมุทรปราการ แม่น้ำแม่กลอง ท่าจีน ท่าฉลอม รวมถึงแหล่งน้ำต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี รวมทั้งในเขตภาคใต้ เช่น ในทะเลสาบสงขลา แม่น้ำตาปี จังหวัด สุราษฎร์ธานี สำหรับในแหล่งน้ำจืดพบได้ทั่วไปในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสาขาตั้งแต่ภาคเหนือจนมาถึงภาคกลางในหลาย ๆ จังหวัด

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นปลาเศรษฐกิจ

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปลากะทิงไฟ กะทิงลายดอกไม้

ชื่อไทย กะทิงไฟ กะทิงลายดอกไม้

ชื่อสามัญ FIRE SPINY EEL

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelus erythrotaenia

ถิ่นอาศัย มีอยู่ในบริเวณน้ำจืดและน้ำกร่อย ในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน ทางภาคใต้ที่ทะเลน้อย ( ทะเลสาบสงขลาตอนใน ) แม่น้ำตาปี ชาวใต้เรียกชื่อปลานี้ว่าปลากะทิงลายดอกไม้

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่อยู่สกุลเดียวกับปลากะทิงดำ แตกต่างกันที่สีของลำตัว กะทิงไฟมีสีน้ำตาลหรือดำมีแต้มและแถบสีแดงขนาดใหญ่และเล็กเรียงแถวตามความยาวลำตัว ครีบหูมีสีดำขอบแดง ลักษณะทางอนุกรมวิธานที่แตกต่างจากกระทิงชนิดอื่นคือกะทิงไฟไม่มีกระดูกที่เป็นหนามแหลมอยู่บริเวณหน้านัยน์ตา กะทิงไฟที่พบในภาคกลาง จะมีสีแดงสดใสกว่าแหล่งน้ำอื่น

อาหารธรรมชาติ กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นปลาสวยงาม ที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ http://school.obec.go.th

ปลา กะทิงดำ หลาด

ชื่อไทย กะทิงดำ หลาด

ชื่อสามัญ ARMED SPINY EEL

ชื่อวิทยาศาสตร์ Mastacembelus armatus

ถิ่นอาศัย ในแม่น้ำ หนองบึงและอ่างเก็บน้ำทั่วทุกภาค

ลักษณะทั่วไป ลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดเล็กละเอียดบนลำตัวและหัว หัวมีลายตั้งแต่ปลายจะงอยปากคาดมาที่ตาถึงช่องเปิดเหงือก ตาเล็ก ครีบอกใหญ่ ปากเล็ก ฟันซี่เล็ก ลักษณะของจะงอยปากยาวดูคล้ายงวง ช่องเหงือกแคบเล็ก อยู่ค่อนไปทางตอนใต้ของส่วนหัว ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นเชื่อมติดกัน ด้านหลังมีก้านครีบแข็งสั้นหลายอัน ไม่มีครีบท้อง ตัวมีสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลอมเหลือง มีลายสีคล้ำเป็นวงหรือเป็นเส้น มีลวดลายหลายแบบ ด้านท้องสีจาง ครีบมีสีคล้ำมีจุดประสีเหลืองอ่อน ความยาวทั่วไปประมาณ 30 - 50 ซม .

การสืบพันธุ์ ผสมพันธุ์วางไข่ตอนเช้ามืด ไข่เป็นแบบจมติดกับสาหร่ายสีเหลืองเข้ม

อาหารธรรมชาติ กินแมลง ลูกกุ้ง ลูกกบและปลาอื่น ๆ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ http://jawnoyfishing.blogspot.com

ปลากระดี่มุก

อาณาจักร Animalia

ไฟลัม Chordata

ชั้น Actinopterygii

อันดับ Perciformes

วงศ์ Osphronemidae

สกุล Trichogaster

สปีชีส์ T. leeri

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogaster leeri (Bleeker, ค.ศ. 1852)

ปลากระดี่มุก ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster leeri ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (อังกฤษ: Osphronemidae) มีรูปปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ (T. trichopterus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่กระดี่มุกมีลำตัวกว้างกว่าเล็กน้อย ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นมีขนาดใหญ่และมีก้านครีบอ่อนยาวเป็นเส้นริ้ว ลำตัวสีเงินจาง มีแถบสีดำจางพาดยาวไปถึงโคนครีบหาง ท้องมีสีส้มหรือสีจาง และมีจุดกลมสีเงินมุกหรือสีฟ้าเหลือบกระจายไปทั่ว อันเป็นที่มาของชื่อ "กระดี่มุก" ครีบท้องเป็นสีส้มสดหรือสีเหลือง
มีความยาวเต็มที่เฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร
มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่เป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำที่มีค่าของน้ำมีความเป็นกรดต่ำกว่าค่าของน้ำปกติ (ต่ำกว่า 7.0) เช่น ในป่าพรุ เป็นต้น
เป็นปลาจำพวกปลากระดี่ที่พบในธรรมชาติได้น้อยที่สุดในประเทศไทย โดยจะพบในเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น
นิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม โดยเฉพาะในตู้ไม้น้ำ


จาก วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กระดี่หม้อ สลาก สลาง

ชื่อไทย กระดี่หม้อ สลาก สลาง

ชื่อสามัญ THREE-SPOT GOURAMI

ชื่อวิทยาศาสตร์ Trichogaster trichopterus

ถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธาร คลอง หนอง บึงและบ่อที่มีวัชพืชปกคลุม เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัยขยายพันธุ์และหลบหลีกจากศัตรู สามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นกรดหรือใกล้เสียได้ ทำรังวางไข่โดยก่อหวอดปนกับเศษหญ้า ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่

ลักษณะทั่วไป มีปริมาณชุกชุมกว่าปลาชนิดอื่นในจำพวกเดียวกัน รูปร่างป้อมกว่ากระดี่นาง ส่วนท้ายไม่เรียวเล็ก หัวเล็ก ตาเล็ก และปากเล็กอยู่ปลายสุดของจะงอยปาก ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้นปลายมน ลำตัวสีขาวเงินเทาอมฟ้า มีริ้วดำพาดขวางเป็นทางประตลอดลำตัว ลักษณะพิเศษคือมีจุดดำที่กลางลำตัวและตรงบริเวณคอดหางแห่งละจุด ครีบก้นมีจุดประสีส้มหรือเหลืองและขอบสีเหลือง ครีบอื่นใส ครีบหางใสมีประสีคล้ำ ความยาวประมาณ 8 - 10 ซม .

อาหารธรรมชาติ กินตะไคร่น้ำ แมลง และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

สถานภาพ (ความสำคัญ) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันแพร่หลาย และเป็นปลาเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ www.siamfishing.com

ปลากระดี่นาง

ชื่อไทย กระดี่นาง

ชื่อสามัญ
MOONLIGHT GOURAMI

ชื่อวิทยาศาสตร์
Trichogaster microlepis

ถิ่นอาศัย
มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น

ลักษณะทั่วไป
รูปร่างเป็นรูปไข่ ส่วนท้ายเรียว ลำตัวแบนข้างมาก ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ครีบอกเล็ก ครีบท้องเป็นเส้นยาว ครีบหางเว้าตื้น เกล็ดบาง เล็กละเอียด ขอบเกล็ดเป็นจักรเช่นเดียวกับเกล็ดปลาหมอ ตัวมีสีเทาหรือเงินวาวอมฟ้า ครีบสีจางใส มีขอบสีเหลืองอ่อนเรื่อ ๆ เพศผู้จะมีสีแสดส้มตรงบริเวณท้อง มีนิสัยสงบเสงี่ยม เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้ดี แต่ในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้จะมีนิสัยกีดกันระรานปลาอื่น ความยาวประมาณ 7 - 10 ซม .

อาหารธรรมชาติ กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

สถานภาพ (ความสำคัญ) กินแมลงและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ www.siamfishing.com

ปลากดเหลือง

ชื่อไทย กดเหลือง

ชื่อสามัญ YELLOW MYSTUS , GREEN CATFISH

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hemibagrus nemurus

ถิ่นอาศัย เดิมอาศัยอยู่ในทะเล แต่ได้เข้ามาผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำจืดแล้วไม่กลับสู่ทะเลอีกเลย พบแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาค

ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อยทางส่วนหาง หัวค่อนข้างแบนลง ตาไม่มีหนังปกคลุม มีหนวด 4 คู่ ที่จมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คาง หนวดที่ริมฝีปากบนยาวถึงครีบก้น หนวดที่จมูกสั้น ยาวจรดนัยน์ตา ครีบหลังมีหนามแหลมคม 1 อัน ครีบหูมีหนามแหลมเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านหลัง สีน้ำตาลปนเขียว ท้องสีเหลืองอ่อน

การสืบพันธุ์ ฤดูกาลวางไข่แตกต่างกันไปตามสภาพและที่ตั้งของพื้นที่ เพาะพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ฉีดแม่ปลาเข็มแรกในอัตรา 5 - 7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง ในอัตรา 15 - 20 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ส่วนปลาเพศผู้อาจไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้ แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังการฉีดยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ก็สามารถผสมเทียมได้ แล้วนำไข่ไปโรยบนมุ้งไนล่อนสีฟ้า ไข่เป็นไข่จมและติดกับวัตถุ (adhesive egg) ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลา 27 - 30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26 - 27 องศาเซลเซียส
อาหารธรรมชาติ กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งสดและแห้ง

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ http://jawnoyfishing.blogspot.com

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตกปลากดคัง แก่งกระจาน

ปลากดหิน

ชื่อไทย กดหิน แขยงหิน

ชื่อสามัญ SIAMESE ROCK CATFISH

ชื่อวิทยาศาสตร์ Leiocassis siamensis

ถิ่นอาศัย อยู่ตามลำธาร เช่น บริเวณปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ แม่น้ำวัง จังหวัดลำปาง แม่น้ำแม่กลอง จังหวัดราชบุรี ฯลฯ

ลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว ไม่มีเกล็ด หัวแบนราบลงเล็กน้อย ตามีผิวหนังใสปิดคลุม มีฟันซี่แหลมเล็กๆ อยู่บนขากรรไกร และเพดานปาก มีหนวด 4 คู่ มีรูจมูกข้างละหนึ่งคู่ แต่ละคู่อยู่ห่างจากกัน ครีบหลังและครีบหูมีหนามแหลม ลำตัวมีพื้นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน มีแถบดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางลำตัว แถบที่ว่านี้จะมีขนาดโตกว่าช่วงสีพื้นของลำตัว ขนาดและที่ตั้งของแถบเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของปลา
อาหารธรรมชาติ กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็ก

สถานภาพ (ความสำคัญ) นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม