วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กะสูบจุด

ชื่อไทย กะสูบจุด

ชื่อสามัญ EYE - SPOT BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala dispar

ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำลำคลอง หนองและบึง ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แม่น้ำมูลที่อุบลราชธานี หนองหานจังหวัดสกลนคร แม่น้ำศรีสงครามจังหวัดนครพนม และห้วยหลวงจังหวัดอุดรธานี

ลักษณะทั่วไป เป็นปลารวมฝูง อยู่ในสกุลเดียวกับปลากะสูบขีด รูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกันมากแต่ขนาดเล็กกว่า ลักษณะที่แตกต่างไปจากกะสูบขีด คือ ครีบหางเล็กและสั้น แฉกบนของครีบหางใหญ่กว่าแฉกล่าง หนวดที่ริมปากบนสั้นมาก ลักษณะที่เด่นอยู่ตรงที่มีจุดดำขนาดใหญ่อยู่กลางลำตัวข้างละจุด หางมีสีแดงเหมือนกะสูบขีด แต่ริมแฉกบนและล่างไม่มีแถบสีคล้ำ

อาหารธรรมชาติ กินลูกกุ้ง ลูกปลาซึ่งมีขนาดเล็กกว่า

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นอาหารได้ทั้งสดและแปรรูปทำเป็นปลาร้า ปลาเจ่า

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

กะสูบขีด

ชื่อไทย กะสูบขีด

ชื่อสามัญ TRANSVERSE - BAR BARB

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hampala macrolepidota

ถิ่นอาศัย พบในแม่น้ำลำคลองทั่วไป ภาคใต้พบที่แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำตาปีและในทะเลสาบสงขลา ภาคกลางพบที่แม่น้ำเจ้าพระยาเรื่อยไปจนถึงบึงบอระเพ็ด แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ภาคเหนือพบที่แม่น้ำแม่ปิง แม่น้ำจีน และภาคอีสานพบที่แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำศรีสงคราม และในเขตจังหวัดชลบุรี จันทบุรี และตราด

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลาตะเพียน ตัวค่อนข้างยาว แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวยาว ท้องกลมมน จะงอยปากแหลม ปากกว้างมากและเฉียงขึ้นเล็กน้อย มีหนวดที่มุมปากบนหนึ่งคู่ ครีบหลังค่อนข้างเล็ก อยู่ตรงข้ามกับครีบท้อง เกล็ดใหญ่ ครีบหางเป็นแฉกลึก สีของปลาชนิดนี้เป็นที่สะดุดตาแตกต่างกับปลาชนิดอื่นอย่างเด่นชัด เมื่อเจริญวัยเต็มที่ลำตัวจะเป็นสีขาวเงิน ด้านหลังสีคล้ำอมน้ำตาล ด้านท้องสีจาง มีลายดำพาดขวางกลางตัว จากส่วนหน้าของครีบหลังไปยังฐานของครีบท้อง ครีบมีสีคล้ำแดงเรื่อ ครีบหางที่ริมแฉกบนและล่างของหางเป็นสีดำ

อาหารธรรมชาติ กินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ


ที่มาของข้อมูล : กรมประมง