วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปลากดเหลือง

ชื่อไทย กดเหลือง

ชื่อสามัญ YELLOW MYSTUS , GREEN CATFISH

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hemibagrus nemurus

ถิ่นอาศัย เดิมอาศัยอยู่ในทะเล แต่ได้เข้ามาผสมพันธุ์และวางไข่ในน้ำจืดแล้วไม่กลับสู่ทะเลอีกเลย พบแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกภาค

ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อยทางส่วนหาง หัวค่อนข้างแบนลง ตาไม่มีหนังปกคลุม มีหนวด 4 คู่ ที่จมูก ริมฝีปากบน ริมฝีปากล่าง และใต้คาง หนวดที่ริมฝีปากบนยาวถึงครีบก้น หนวดที่จมูกสั้น ยาวจรดนัยน์ตา ครีบหลังมีหนามแหลมคม 1 อัน ครีบหูมีหนามแหลมเช่นเดียวกับครีบหลัง ครีบไขมันมีขนาดใหญ่และยาว สีของลำตัวเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง ด้านหลัง สีน้ำตาลปนเขียว ท้องสีเหลืองอ่อน

การสืบพันธุ์ ฤดูกาลวางไข่แตกต่างกันไปตามสภาพและที่ตั้งของพื้นที่ เพาะพันธุ์โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ฉีดแม่ปลาเข็มแรกในอัตรา 5 - 7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง ในอัตรา 15 - 20 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ส่วนปลาเพศผู้อาจไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้ แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังการฉีดยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ก็สามารถผสมเทียมได้ แล้วนำไข่ไปโรยบนมุ้งไนล่อนสีฟ้า ไข่เป็นไข่จมและติดกับวัตถุ (adhesive egg) ไข่จะฟักเป็นตัวในเวลา 27 - 30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26 - 27 องศาเซลเซียส
อาหารธรรมชาติ กินปลา ลูกกุ้ง แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก

สถานภาพ (ความสำคัญ) เป็นปลาเศรษฐกิจที่ใช้บริโภคทั้งสดและแห้ง

ที่มาของข้อมูล : กรมประมง

ภาพ http://jawnoyfishing.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น: